l หน้าแรก l เกี่ยวกับโครงการ l กรมชลประทาน l ติดต่อกับเรา l Facebook 

เกี่ยวกับโครงการ

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน
สำนักชลประทานที่ 3
กรมชลประทาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน เป็นโครงการที่ขอจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2556 มีอาคารหัวงานตั้งอยู่ที่ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่โครงการครอบคลุม 3 จังหวัด 5 อำเภอ คิดเป็นพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 312,600 ไร่ อาคารหัวงานจำนวน 2 แห่ง รับน้ำจากแม่น้ำน่าน  โดยการทดน้ำของเขื่อนนเรศวร สามารถรับน้ำเข้าเขตโครงการฯ รวมกันได้สูงสุด 25 ลบ.ม.ต่อวินาที ปัจจุบันพื้นที่แห่งน้ำเป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน แต่มีการใช้น้ำจากแม่น้ำน่านในช่วงฤดูแล้งเป็นประจำทุกปี จึงมีผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนสิริกิติ์ ทำให้ต้องมีการพิจารณาเสนอขอจัดตั้งเป็นโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นการเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้อีกด้วย
สภาพโดยทั่วไปของจังหวัดพิษณุโลก

ที่ตั้งและอาณาเขต

จังหวัดพิษณุโลกตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยห่างจากกรุงเทพมหานคร  377 กิโลเมตร  มีอาณาเขตติดต่อกับ 6 จังหวัด คือ อุตรดิตถ์ เลย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร สุโขทัยและจังหวัดพิษณุโลก มีเนื้อที่ประมาณ 10,815.85 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,759,909 ไร่ โดยแบ่งเขตการปกครองเป็น 9 อำเภอ 93 ตำบล 1,048 หมู่บ้าน 16 เทศบาล(เทศบาลนคร 1 แห่ง และเทศบาลตำบล 15 แห่ง) องค์การบริหารส่วนตำบล 86 แห่ง องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง

สภาพภูมิประเทศ

จุดเด่นทางธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดพิษณุโลก คือมีลักษณะพื้นที่ที่มีความหลากหลาย
ทางธรรมชาติ เนื่องจากลักษณะพื้นที่ทางตอนเหนือ ทางตะวันออก และตอนกลางบางส่วนเป็นเขตภูเขาสูง   ที่ราบสูงและลาดเอียงลงมาทางตอนกลาง ทางตะวันตก และทางตอนใต้จนเป็นพื้นที่ราบกับพื้นที่ราบลุ่ม ทำให้สามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้ทุกสาขา เช่น สาขาป่าไม้ สาขาพืช สาขาประมง และสาขาปศุสัตว์ โดยเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำในพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอพรหมพิราม อำเภอบางกระทุ่มและอำเภอบางระกำ จะเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของจังหวัดที่ทำรายได้หลักให้กับจังหวัดพิษณุโลก นอกจากนี้ในเขตอำเภอบางระกำบริเวณพื้นที่ใกล้ลุ่มน้ำยม ทุกปีจะเกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ราษฎรไม่สามารถปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ได้ อำเภอบางระกำจึงเป็นแหล่งรองรับน้ำในฤดูฝนและเป็นแหล่งผลิตสัตว์น้ำธรรมชาติและแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ทำรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ หากสามารถพัฒนาพื้นที่ตามศักยภาพให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดเพื่อการศึกษาและขยายปริมาณผลผลิตสัตว์น้ำจืดรวมถึงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพการเลี้ยงสัตว์น้ำจะทำให้อำเภอบางระกำเป็นแหล่งทำประมงน้ำจืดที่สำคัญของจังหวัดพิษณุโลกได้ต่อไป

 

ความเป็นมาของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน
สืบเนื่องจากการก่อสร้างเขื่อนนเรศวร ที่ตำบลหนองแขม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ.2520 ได้มีการขุดคลองผันน้ำไม่ให้ไหลผ่านบ่อก่อสร้าง โดยวางแนวคลองผันน้ำไปตามแนวคันกั้นน้ำระหว่างในเขตชลประทาน และนอกเขตชลประทาน ภายหลังการก่อสร้างเขื่อนนเรศวรเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2523 ราษฎรได้รวมตัวกันร้องขอใช้น้ำจากคลองผันน้ำและขอให้ก่อสร้างประตูน้ำปิด-เปิดที่ปากคลองผันน้ำเพิ่มเติมที่ริมแม่น้ำน่าน เพื่อให้ราษฎรที่อยู่นอกเขตชลประทานได้มีโอกาสในการใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูกบ้าง ดังนั้น กรมชลประทานจึงก่อสร้างประตูระบายน้ำและปรับปรุงคลองผันน้ำให้เป็นคลองส่งน้ำเพื่อช่วยเหลือราษฎรดังกล่าวตามคำร้องขอ
ต่อมาได้มีการพัฒนาคลองผันน้ำดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยการก่อสร้างโครงการชลประทานขนาดเล็ก การขุดลอกคลอง และการดาดคอนกรีตคลอง รวมทั้งการปรับปรุงท่อลอดถนนให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้สามารถส่งน้ำได้เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้พื้นที่เพาะปลูกและการใช้น้ำมีการขยายตัวด้วยเหมือนกันจนก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงน้ำและการทะเลาะวิวาทอยู่เป็นประจำ มีผลให้เกษตรกรประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำอยู่บ่อยครั้ง การแก้ไขปัญหาดังกล่าวในพื้นที่แห่งนี้ก็ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากเป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน จึงไม่มีเจ้าหน้าที่คอยดูแล
ปัจจุบันคลองผันน้ำสายนี้ได้ตั้งชื่อเป็น คลองชักน้ำแม่น้ำน่าน-คลองเมม และได้มีการก่อสร้างคลองชักน้ำจากแม่น้ำน่านเพิ่มเติมอีกในปี พ.ศ.2543 คือ คลองชักน้ำแม่น้ำน่าน-คลองวังขอน เพื่อแก้ไขปัญหาปริมาณน้ำไม่เพียงพอ คลองชักน้ำทั้ง 2 สายนี้ ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูก 312,600 ไร่ พื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดภายในโครงการฯนี้ จะถูกน้ำท่วมในช่วงปลายฤดูฝน ประมาณ 1-3 เดือน ดังนั้น ในช่วง 1 ปี จะสามารถทำการเพาะปลูกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง การใช้น้ำช่วงฤดูฝนจะมีปัญหาด้านการระบายน้ำส่วนในช่วงฤดูแล้งจะเกิดปัญหาด้านการขาดแคลนน้ำ โดยเมื่อก่อนจะไม่ได้รับโควตาน้ำในช่วงฤดูแล้ง จึงมีข้อขัดแย้งการใช้น้ำกันมาก ปัจจุบันกรมชลประทาน และสำนักชลประทานที่ 3 ได้จัดสรรโควตาน้ำจากโควตาการใช้น้ำประเภทอื่นๆ ของลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อช่วยเหลือการเพาะปลูกข้าวนาปรัง โดยให้โครงการชลประทานพิษณุโลกเข้ามาดูแล โดยเข้ามาจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ เพื่อลดปัญหาการแย่งน้ำ ซึ่งช่วยให้ปัญหาการใช้น้ำดีขึ้นในระดับหนึ่ง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2552 ได้เกิดสภาวะภัยแล้งโดยทั่วไปในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ท่านรองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษา และท่านรองอธิบดีฝ่ายวิชาการได้เดินทางมาตรวจราชการที่จังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2552 และได้สั่งการให้เสนอพื้นที่เพาะปลูกแห่งนี้เป็นโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดสรรน้ำในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา ในระยะยาวต่อไป

 

ลักษณะโครงการ
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน เป็นโครงการประเภทรับน้ำนองในช่วงฤดูฝนจะอาศัยน้ำฝนทำการเพาะปลูกหากปริมาณฝนอยู่ในเกณฑ์ปกติก็ไม่ต้องใช้น้ำจากเขื่อนสิริกิติ์ แต่ในช่วงฤดูแล้งจะใช้น้ำแม่น้ำน่านจากเขื่อนสิริกิติ์ โดยการทดน้ำของเขื่อนนเรศวร เข้าสู่พื้นที่โครงการฯ ผ่าน ทรบ.ปากคลองชักน้ำแม่น้ำน่าน-คลองเมม และคลองชักน้ำแม่น้ำน่าน-คลองวังขอน คิดเป็นปริมาณน้ำที่ใช้ในช่วงฤดูแล้งจำนวน 160-180 ล้านลูกบาศก์เมตร

                   พื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน ตั้งอยู่ทางด้านฝั่งขวาของแม่น้ำน่าน ทิศเหนือติดกับอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ทิศใต้ติดกับอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ทิศตะวันออกติดกับโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพลายชุมพล จังหวัดพิษณุโลก และทิศตะวันตกติดกับอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย กับแม่น้ำยม ที่ทำการโครงการตั้งอยู่ที่ ปตร.วังขี้เหล็ก ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม            จ.พิษณุโลก พิกัด N 1871500 E 617900 มีเขื่อนสิริกิติ์เป็นแหล่งน้ำต้นทุนซึ่งเขื่อนมีความจุ 9,510 ล้านลูกบาศก์เมตร ระบายน้ำในช่วงฤดูแล้งประมาณ 4,000 – 6,000 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่เพาะปลูกภายในเขตโครงการฯ จำนวน 312,600 ไร่ ปัจจุบันการกระจายน้ำยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ จึงต้องมีการปรับปรุงคลองส่งน้ำอีกหลายสาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการชลประทาน
ปัญหาสำคัญในพื้นที่โครงการฯ คือในช่วงฤดูฝนจะประสบปัญหาน้ำท่วม  จึงต้องมีการวางแผนการระบายน้ำให้รวดเร็วเพื่อไม่ให้ผลผลิตเสียหาย ส่วนในฤดูแล้งจะประสบปัญหาปริมาณน้ำไม่เพียงพอโดยเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์ จะเป็นช่วงวิกฤติของการขาดแคลนน้ำ ซึ่งจะต้องมีการบริหารจัดการน้ำอย่างใกล้ชิดอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเดือดร้อนของเกษตรกร

 

ปริมาณน้ำต้นทุน
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่านมีคลองส่งน้ำสายหลัก จำนวน 2 สาย  คือ คลองชักน้ำแม่น้ำน่าน – คลองเมม และคลองชักน้ำแม่น้ำน่าน – คลองวังขอน  รับน้ำเข้าคลองส่งน้ำโดยการทดน้ำจากเขื่อนนเรศวร  ซึ่งมีเขื่อนสิริกิติ์เป็นแหล่งน้ำต้นทุน  การใช้น้ำของโครงการฯ  อยู่ในการควบคุมของกรมชลประทาน  โดยในช่วงฤดูฝนจะใช้น้ำจากแม่น้ำน่าน  เฉพาะเมื่อเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง  ซึ่งคิดเป็นปริมาณน้ำไม่มากนัก  ส่วนในฤดูแล้งจะใช้น้ำจากแผนการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งของลุ่มน้ำเจ้าพระยาโดยใช้โควตา  การใช้น้ำประเภทอื่นๆ  ประมาณ 160 – 180  ล้านลูกบาศก์เมตร  ตลอดฤดูแล้ง  เมื่อคิดเปรียบเทียบกับการระบายน้ำจากเขื่อนสิริกิติ์ในช่วงฤดูแล้งถือว่าน้อยมาก  หรือคิดเป็น ร้อยละ 2.00 – 4.00 ปัจจุบันการใช้น้ำมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยขาดการควบคุมดูแลทำให้มีการใช้น้ำที่ฟุ่มเฟือยมากขึ้นด้วย

 

สภาพพื้นที่เพาะปลูก
พื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน  ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่  3  จังหวัด  5  อำเภอ ดังนี้  จังหวัดพิษณุโลก  จำนวน 3 อำเภอ คืออำเภอพรหมพิราม อำเภอเมือง และอำเภอบางระกำ  จังหวัดสุโขทัย  จำนวน 1 อำเภอ  คือ  อำเภอกงไกรลาศ  และจังหวัดอุตรดิตถ์  จำนวน 1 อำเภอ คือ อำเภอพิชัย  โดยแบ่งพื้นที่เพาะปลูกเป็นรายตำบล  ดังนี้

จังหวัด

อำเภอ

ตำบล

พื้นที่เพาะปลูก
(ไร่)

อุตรดิตถ์


พิษณุโลก

 

 

 

พิษณุโลก


พิษณุโลก




สุโขทัย







พิชัย
รวม อำเภอพิชัย

พรหมพิราม
พรหมพิราม
พรหมพิราม
พรหมพิราม
พรหมพิราม
พรหมพิราม
รวม อำเภอพรหมพิราม

เมือง
รวม อำเภอเมือง

บางระกำ
บางระกำ
บางระกำ
รวม อำเภอบางระกำ

กงไกรลาศ
กงไกรลาศ
กงไกรลาศ
กงไกรลาศ
กงไกรลาศ
กงไกรลาศ
รวม อำเภอกงไกรลาศ

พญาแมน


วังวน
ตลุกเทียม
ศรีภิรมย์
หหนองแขม
พรหมพิราม
ท่าช้าง


บ้านกร่าง


ท่านางงาม
ชุมแสงสงคราม
บางระกำ

 

บ้านใหม่สุขเกษม
กกแรต
ไกรนอก
ไกรกลาง
ไกรใน
ดงเดือย



20,000
20,000

22,000
25,000
30,000
33,200
2,500
4,900
117,600

5,000
5,000

52,000
10,000
8,000
70,000

15,000
15,000
20,000
20,000
15,000
15,000
100,000

 

เลขที่ 8 หมู่ 8 ตำบลท่าทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000
เบอร์โทร 055 983589
Fax 055 983586, 055 983587